วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

บทที่ 2-4 : คำคุณศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น (4)

การเปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นคำนาม

1. การเปลี่ยนคำคุณศัพท์ い เป็นคำนาม
ทำได้โดยการตัด い ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก
แล้วเติม み หรือ さ ต่อท้าย
โดยที่  จะใช้ในเชิงอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง
ส่วน  จะใช้ในเชิงการวัดระดับปริมาณ หรือคุณภาพ

ตัวอย่างการเปลี่ยนคำคุณศัพท์ い เป็นคำนาม
ดีใจ嬉しความดีใจ嬉し
嬉し
เสียใจ悲しความเสียใจ悲し
悲し
สนุก楽しความสนุก楽し
楽し
เหงา寂しความเหงา錆し
寂し
กว้างความกว้าง
ยาวความยาว
สูงความสูง
ลึกความลึก

2. การเปลี่ยนคำคุณศัพท์ な เป็นคำนาม
โดยทั่วไปคำคุณศัพท์ な ใช้เป็นคำนามได้ด้วยอยู่แล้ว
แต่ในบางครั้งเราสามารถเติมคำปัจจุัยต่างๆ
เช่น み,さ,性(せい),化(か) ต่อท้าย
เพื่อเป็นการแสดงความหมายเป็นคำนามได้ด้วย
ซึ่งจะเอาไว้อธิบายเพิ่มเติมในส่วนของคำปัจจัย

การเปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นคำกริยา

1. การเปลี่ยนคำคุณศัพท์ い เป็นคำกริยา
สามารถทำได้หลายวิธี

คำคุณศัพท์ い ที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก
สามารถเปลี่ยนเป็นคำกริยา
ได้โดยการตัด い ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก
แล้วเติม む ต่อท้าย
ซึ่งจะเป็นคำกริยาที่ใช้ได้กับตนเอง

ตัวอย่าง
สนุกสนาน楽し楽し
เสียใจ悲し悲し
เจ็บ,ปวด
ทรมาน苦し苦し
เสียดาย惜し惜し

ถ้าเป็นคำกริยาที่ตัวเองไม่ได้เป็นผู้กระทำ
แต่เป็นมุมมองของตนเองที่เห็นว่า
คนอื่นเป็นผู้กระทำกริยานั้น
การเปลี่ยนคำคุณศัพท์ い เป็นคำกริยา
ทำได้โดยการตัด い ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก
แล้วเติม がる ต่อท้าย ซึ่งมีความหมายว่า
"เห็นว่าเป็นเช่นนั้น"

ตัวอย่าง
สนุกสนาน楽し楽しがる
เสียใจ悲し悲しがる
กลัวがる
ต้องการ, อยากได้欲し欲しがる

คำคุณศัพท์ い ที่แสดงปริมาณหรือคุณภาพ
สามารถเปลี่ยนเป็นคำกริยา
ได้โดยการตัด い ที่่อยู่ตัวท้ายสุดออก
แล้วเติม める หรือ まる ต่อท้าย
โดยที่ める จะเป็นสกรรมกริยา
หมายถึงการทำให้เกิดสภาพนั้นๆ
ส่วน まる จะเป็นอกรรมกริยา
หมายถึงการเกิดสภาพนั้นๆ

ตัวอย่าง
สูงめるเพิ่ม,ยก(ระดับ),
ทำให้สูงขึ้น
สูงまるสูงขึ้น,รุนแรงขึ้น,
เพิ่มมากขึ้น
กว้างめるแผ่,ทำให้รู้กันทั่ว
กว้างまるแผ่กว้าง
อ่อนแอめるลดระดับความรุนแรง,
หรี่(ไฟ),ทำให้อ่อนแอ,
ทำให้เจือจางลง
อ่อนแอまるอ่อนกำลังลง,สงบลง
เจ็บ,ปวดめるทำให้เจ็บปวด


พยายามจำความหมายของตัวคันจิให้ได้ แล้วใช้เทคนิคการแปลงชนิดคำเหล่านี้ในการจำศัพท์จะทำให้เราสามารถจำคำศัพท์ได้เยอะขึ้นหลากหลายชนิดคำจากคำๆเดียว

ในบทความหน้าจะมาสอนเกี่ยวกับคำกริยานุเคราะห์ต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น