วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-3 : คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น (6)

8. การผันคำกริยาเป็นรูปคำสั่ง

   คำกริยากลุมที่ 1
    ผันโดยการเปลี่ยนเสียงสระอุที่อยู่ตัวท้ายสุด
    ให้เป็นเสียงสระเอะ

ตัวอย่าง
พูดพูดมาซะ
ยินยืนขึ้นซะ
นั่งนั่งลงซะ
เขียนเขียนซะ
ว่ายน้ำว่ายน้ำซะ
ตายตายซะ
อ่านอ่านซะ

   คำกริยากลุ่มที่ 2
   ผันโดยการเปลี่ยน る ที่อยู่ตัวท้ายสุด
   ให้เป็น ろ

ตัวอย่าง
起きตื่น起きตื่นซะ
นอนนอนซะ
食べกิน食べกินซะ
ดูดูซะ
覚えจำ覚えจำไว้ซะ
忘れลืม忘れลืมไปซะ

   คำกริยากลุ่มที่ 3
   ผันโดยการเปลี่ยน 来る (くる)
   เป็น 来い (こい)
   และเปลี่ยน する เป็น しろ

ตัวอย่าง
くるมาこいเข้ามาซะ
するทำしろทำซะ

9. การผันคำกริยาเป็นรูปเงื่อนไข
    (V-ば)

  คำกริยากลุ่มที่ 1
   ผันโดยการเปลี่ยนเสียงสระอุที่อยู่ตัวท้ายสุด
   ให้เป็นเสียงสระเอะ แล้วเติม ば ต่อท้าย

ตัวอย่าง
พูดえばถ้าพูด
ยืนてばถ้ายืน
นั่งればถ้านั่ง
เขียนけばถ้าเขียน
อ่านめばถ้าอ่าน

   คำกริยากลุ่มที่ 2
   ผันโดยการเปลี่ยน る ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก
   ให้เป็น れ แล้วเติม ば ต่อท้าย

ตัวอย่าง
起きตื่น起きればถ้าตื่น
นอนればถ้านอน
食べกิน食べればถ้ากิน
ดูればถ้าดู

   คำกริยากลุ่มที่ 3
   ผันโดยการเปลี่ยน 来る (くる)
   เป็น 来れば (くれば)
   และเปลี่ยน する เป็น すれば

ตัวอย่าง
くるมาくればถ้ามา
するทำすればถ้าทำ

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-3 : คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น (5)

7. การผันคำกริยาเป็นรูปสามารถ

   คำกริยากลุ่มที่ 1
   ผันโดยการเปลี่ยนเสียงสระอุที่อยู่ตัวท้ายสุด
   ให้เป็นเสียงสระเอะ แล้วเติม る ต่อท้าย

ตัวอย่าง
พูดえるพูดได้
รอてるรอได้
ขายれるขายได้
เขียนけるเขียนได้
ว่ายน้ำげるว่ายน้ำได้
ตายねるตายได้
เที่ยวเล่นべるไปเที่ยวเล่นได้
อ่านめるอ่านได้
คุยせるคุยด้วยได้

หมายเหตุ คำกริยา 聞く ที่แปลว่า "ฟัง" รูปสามารถคือ 聞こえる แปลว่า "ได้ยิน"

   คำกริยากลุ่มที่ 2
   ผันโดยการตัด る ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก
   แล้วเติม られる ต่อท้าย

ตัวอย่าง
起きตื่น起きられるตื่นได้
นอนられるนอนได้
感じรู้สึก感じられるรู้สึกได้
食べกิน食べられるกินได้
覚えจำ覚えられるจำได้

หมายเหตุ คำกริยา 見る ที่แปลว่า "ดู" รูปสามารถคือ 見える แปลว่า "มองเห็น"

   คำกริยากลุ่มที่ 3
   ผันโดยการเปลี่ยน 来る (くる)
   เป็น 来られる (こられる)
   และเปลี่ยน する เป็น 出来る (できる)

ตัวอย่าง
くるมาこられるมาได้
するทำできるทำได้

คำกริยารูปสุภาพนั้นสามารถผันเป็นรูปปฏิเสธต่อได้โดยการใช้หลักการผันเดียวกันกับการผันคำกริยากลุ่มที่ 2 คือ ตัด る ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก แล้วเติม ない ต่อท้าย

ตัวอย่าง
書けเขียนได้書けないเขียนไม่ได้
読めอ่านได้読めないอ่านไม่ได้
言えพูดได้言えないพูดไม่ได้
食べられกินได้食べられないกินไม่ได้
寝られนอนได้寝られないนอนไม่ได้
こられมาได้こられないมาไม่ได้
できทำได้できないทำไม่ได้

นอกจากนี้ คำกริยารูปสามารถยังสามารถผันต่อเป็นรูปสุภาพรวมไปถึงรูปปฏิเสธสุภาพได้โดยการใช้หลักการผันเดียวกันกับคำกริยากลุ่มที่ 2 คือ ตัด る ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก แล้วเติม ます หรือ ません ในกรณีที่เป็นการปฏิเสธต่อท้าย

ตัวอย่าง
เขียนได้書け書けます
อ่านได้読め読めます
พูดได้言え言えます
กินได้食べられ食べられます
นอนได้寝られ寝られます
มาได้こられこられます
ทำได้できできます

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-3 : คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น (4)

6. การผันคำกริยาเป็นรูปตั้งใจ
    (V-よう)

   คำกริยากลุ่มที่ 1
   ผันโดยการเปลี่ยนเสียงสระอุที่อยู่ตัวท้ายสุด
   ให้เป็นเสียงสระโอะ แล้วเติม ต่อท้าย

ตัวอย่าง
พูดおうตั้งใจจะพูด
มาพูดกันเถอะ
ทำろうตั้งใจจะทำ
มาทำกันเถอะ
เขียนこうตั้งใจจะเขียน
มาเขียนกันเถอะ
อ่านもうตั้งใจจะอ่าน
มาอ่านกันเถอะ
เทียวเล่นぼうตั้งใจจะเที่ยวเล่น
มาเล่นกันเถอะ
คุยそうตั้งใจจะคุย
มาคุยกันเถอะ

   คำกริยากลุ่มที่ 2
   ผันโดยการตัด る ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก
   แล้วเติม よう ต่อท้าย

ตัวอย่าง
起きตื่น起きようตั้งใจจะตื่น
มาตื่นกันเถอะ
นอนようตั้งใจจะนอน
มานอนกันเถอะ
食べกิน食べようตั้งใจจะกิน
มากินกันเถอะ
忘れลืม忘れようตั้งใจจะลืม
มาลืมกันกันเถอะ

   คำกริยากลุ่มที่ 3
   ผันโดยการเปลี่ยน 来る (くる)
   เป็น 来よう (こよう)
   และเปลี่ยน する เป็น しよう

ตัวอย่าง
くるมาこようตั้งใจจะมา
มาด้วยกันเถอะ
するทำしようตั้งใจจะทำ
มาทำกันเถอะ

หมายเหตุ คำกริยารูปตั้งใจ หรือ V-よう ถ้าใช้เพียงลำพังเฉยๆ จะเป็นการนึกถึงความตั้งใจของตนเองคนเดียวว่าตั้งใจจะทำอะไร ไม่ได้เป็นการสื่อสารเพื่อบอกกล่าวหรือแจ้งให้ผู้ฟังทราบ แต่เมื่อใช้พูดกับผู้อื่นจะเป็นการชักชวนให้มาทำอะไรร่วมกันแบบเป็นกันเอง

นอกจากคำกริยารูปตั้งใจปกติทั่วไปแล้วนั้น ยังมีคำกริยารูปตั้งใจที่ผันต่อมาจากรูปสุภาพ หรือ V-ます โดยการเปลี่ยน ます เป็น ましょう ซึ่งจะใช้ในความหมายที่เป็นการชักชวนอีกฝ่ายอย่างสุภาพให้มาทำอะไรร่วมกันเท่านั้น จะไม่ใช้ในความหมายที่เป็นการนึกถึงความตั้งใจของตนเองแต่อย่างใด

ตัวอย่าง
เขียน書きます書きましょうมาเขียนกันเถอะ
อ่าน読みます読みましょうมาอ่านกันเถอะ
ทำやりますやりましょうมาทำกันเถอะ
กิน食べます食べましょうมากินกันเถอะ
ดื่ม飲みます飲みましょうมาดื่มกันเถอะ
เล่น遊びます遊びましょうมาเล่นกันเถอะ
ไป行きます行きましょうไปกันเถอะ
กลับ帰ります帰りましょうกลับกันเถอะ

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-3 : คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น (3)

3. การผันคำกริยาเป็นรูปอดีตทั่วไป
    (V-た)

   คำกริยากลุ่มที่ 1
   แยกวิธีการผันออกเป็น 5 กลุ่มย่อย 
    โดยให้สังเกตดูที่เสียงตัวท้ายสุด
 แล้วผันเปลี่ยนเสียงตัวอักษร ดังนี้
  • ถ้าเป็น , , ให้เปลี่ยนเป็น った
  • ถ้าเป็น ให้เปลี่ยนเป็น いた
  • ถ้าเป็น ให้เปลี่ยนเป็น いだ
  • ถ้าเป็น ぬ, ぶ, む ให้เปลี่ยนเป็น んだ
  • ถ้าเป็น ให้เปลี่ยนเป็น した
ตัวอย่าง
พูดったพูดแล้ว
ยืนったยืนแล้ว
分かเข้าใจ分かったเข้าใจแล้ว
เขียนいたเขียนแล้ว
ว่ายน้ำいだว่ายน้ำแล้ว
ตายんだตายแล้ว
เที่ยวเล่นんだเที่ยวเล่นมาแล้ว
อ่านんだอ่านแล้ว
คุยしたคุยแล้ว

หมายเหตุ คำกริยา 行く ที่แปลว่า "ไป"  ในรูปอดีตนั้นจะผันเป็น 行った แปลว่า "ไปแล้ว"

   คำกริยากลุ่มที่ 2
   ผันโดยการตัด る ที่อยู่่ตัวท้ายสุดออก
   แล้วเติม た ต่อท้าย

ตัวอย่าง
起きตื่น起きตื่นแล้ว
มี,อยู่เคยมี,เคยอยู่
感じรู้สึก感じรู้สึกแล้ว
นอนนอนแล้ว
食べกิน食べกินแล้ว
見えเห็น見えเห็นแล้ว

   คำกริยากลุ่มที่ 3
   ผันโดยการเปลี่ยน 来る (くる)
   เป็น 来た (きた)
   และเปลี่ยน する เป็น した


ตัวอย่าง
くるมาきたมาแล้ว
するทำしたทำแล้ว

4. การผันคำกริยาเป็นรูปอดีตปฏิเสธทั่วไป
    (V-なかった)

ให้ผันจาก V-ない โดยการตัด い ที่อยู่ตัวท้ายสุด
แล้วเติม かった ต่อท้าย

ตัวอย่าง
書かないไม่เขียน書かなかったไม่ได้เขียน
読まないไม่อ่าน読まなかったไม่ได้อ่าน
起きないไม่ตื่น起きなかったไม่ได้ตื่น
寝ないไม่นอน寝なかったไม่ได้นอน
こないไม่มาこなかったไม่ได้มา
しないไม่ทำしなかったไม่ได้ทำ

5. วิธีการผันคำกริยาเป็นรูป て
    (V-て)

ให้ผันจาก V-た โดยเปลี่ยน た เป็น て
ซึ่งใช้ในการบอกให้ทำแบบเป็นกันเอง
ในกรณีที่อยู่ท้ายสุดของประโยค
และใช้ในการเชื่อมคำกริยานี้กับคำอื่นๆ
ที่ตามมาในรูปไวยากรณ์ต่างๆ

ตัวอย่าง
書いたเขียนแล้ว書いてเขียนสิ
読んだอ่านแล้ว読んでอ่านสิ
起きたตื่นแล้ว起きてตื่นสิ
寝たนอนแล้ว寝てนอนสิ
きたมาแล้วきてมาสิ
したทำแล้วしてทำสิ

สำหรับบทความนี้ขอพักไว้เพียงแค่นี้ก่อน ไว้จะมาสอนวิธีการผันคำกริยาในรูปแบบอื่นๆ ต่อเนื่องในบทความหน้านะ

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-3 : คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น (2)

เทคนิคการจำคู่อกรรมกริยากับสกรรมกริยา

1. อกรรมกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียงสระอะ + る
    จะมีคู่่สกรรมกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียงสระเอะ + る

    เช่น 下がる (さがる) ลงมาที่ต่ำ
           下げる (さげる) วางลง,ทำให้ลดต่ำลง
           上がる (あがる) ขึ้นไปที่สูง
           上げる (あげる) ยกขึ้น,ทำให้สูงขึ้น

2. อกรรมกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง いる
    จะมีคู่สกรรมกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง おす

 เช่น 起きる (おきる) ตื่นขึ้นมาเอง
           起こす (おこす) ทำให้ตื่น,ปลุก
           降りる (おりる) ลงจากรถเอง
           降ろす (おろす) ให้ลงรถ,ยกลง

3. อกรรมกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง れる
 จะมีคู่สกรรมกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง

 เช่น 壊れる (こわれる) เสียหาย,แตก,พัง
           壊す (こわす) ทำพัง,ทำลาย
           隠れる (かくれる) ซ่อนตัวเอง
           隠す (かくす) เอาบางอย่างไปซ่อน

4, อกรรมกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง る
 จะมีคู่สกรรมกริยาที่ลงท้านด้วยเสียง す

 เช่น 帰る (かえる) กลับบ้านด้วยตัวเอง
           帰す (かえす) ปล่อยคนอื่นกลับบ้าน
           直る (なおる) ถูกซ่อม,กลับมาใช้ได้
           直す (なおす) ซ่อมให้กลับใช้ได้

5. อกรรมกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียงสระอุ
    จะมีคู่สกรรมกริยาลงท้ายด้วยเสียงเอะ + る

 เช่น 進む (すすむ) คืบหน้า(ด้วยตัวเอง)
           進める (すすめる) ทำให้คืบหน้า
           点く (つく) ไฟเปิดขึ้นเอง
           点ける (つける) กดเปิดไฟ

6. อกรรมกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียงสระอุ
    จะมีคู่สกรรมกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียงสระอะ + す

 เช่น 減る (へる) ลดจำนวนลงเอง
           減らす (へらす) ทำให้ลดจำนวนลง
           動く (うごく) ขยับตัวเอง
           動かす (うごかす) ขยับบางอย่าง

จะเห็นได้ว่าอกรรมกริยานั้นเป็นสภาพการกระทำที่เกิดขึ้นกับตัวของประธานเองเลยไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ ส่วนสกรรมกริยานั้นจะเป็นการที่ประธานกระทำต่อบางสิ่งจึงจำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ

วิธีผันคำกริยาให้อยู่ในรูปต่างๆ

1. การผันคำกริยาเป็นรูปปฏิเสธทั่วไป 
    (V-ない)

   คำกริยากลุ่มที่ 1 
   ผันโดยการเปลี่ยนเสียงสระอุที่อยู่ตัวท้ายสุด
   ให้เป็นเสียงสระอะ ยกเว้น う จะเปลี่ยนเป็น  
   จากนั้นให้เติม ない ต่อท้าย

ตัวอย่าง
พูดわないไม่พูด
ยืนたないไม่ยืน
分かเข้าใจ分からないไม่เข้่าใจ
เขียนかないไม่เขียน
ว่ายน้ำがないไม่ว่ายน้ำ
ตายなないไม่ตาย
เที่ยวเล่นばないไม่เที่ยวเล่น
อ่านまないไม่อ่าน
คุยさないไม่คุย

 หมายเหตุ คำกริยา ある ที่แปลว่า "มี(ใช้กับสิ่งของ)" จะผันเป็น ない แปลว่า "ไม่มี"

   คำกริยากลุ่มที่ 2
   ผันโดยการตัด ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก
   แล้วเติม ない ต่อท้าย

ตัวอย่าง
起きตื่น起きないไม่ตื่น
มี,อยู่ないไม่มี,ไม่อยู่
感じรู้สึก感じないไม่รู้สึก
นอนないไม่นอน
食べกิน食べないไม่กิน
見えเห็น見えないไม่เห็น

   คำกริยากลุ่มที่ 3
   ผันโดยการเปลี่ยน 来る(くる)
   เป็น 来ない (こない)
   และเปลี่ยน する เป็น しない

ตัวอย่าง
くるมาこないไม่มา
するทำしないไม่ทำ

2. การผันคำกริยาเป็นรูปสุภาพ 
    (V-ます)
     
   คำกริยากลุ่มที่ 1
   ผันโดยการเปลี่ยนเสียงสระอุที่อยู่ตัวท้ายสุด
   เป็นเสียงสระอิ จากนั้นให้เติม ます ต่อท้าย

ตัวอย่าง
พูดいます
ยืนちます
เข้าใจ分か分かります
เขียนきます
ว่ายน้ำぎます
ตายにます
เที่ยวเล่นびます
อ่านみます
คุยします

   คำกริยากลุ่มที่ 2
   ผันโดยการตัด る ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก
   แล้วเติม ます

ตัวอย่าง
ตื่น起き起きます
มี,อยู่ます
รู้สึก感じ感じます
นอนます
กิน食べ食べます
เห็น見え見えます

   คำกริยากลุ่มที่ 3
   ผันโดยการเปลี่ยน 来る (くる)
   เป็น 来ます (きます)
   และเปลี่ยน する เป็น します

ตัวอย่าง
มาくる来ます
ทำするします

V-ます นั้นสามารถผันต่อได้อีก ดังนี้

- ผันเป็นรูปอดีตสุภาพโดยการเปลี่ยน ます
   เป็น ました

ตัวอย่าง
書きますเขียน書きましたเขียนแล้ว
読みますอ่าน読みましたอ่านแล้ว
起きますตื่น起きましたตื่นแล้ว
ますนอนましたนอนแล้ว
ますมาましたมาแล้ว
ますทำますทำแล้ว

- ผันเป็นรูปปฏิเสธสุภาพโดยการเปลี่ยน ます 
   เป็น ません

ตัวอย่าง
書きますเขียน書きませんไม่เขียน
読みますอ่าน書きませんไม่อ่าน
起きますตื่น起きませんไม่ตื่น
ますนอนませんไม่นอน
ますมาませんไม่มา
ますทำませんไม่ทำ

- ผันเป็นรูปอดีตปฏิเสธสุภาพโดยการเปลี่ยน ます 
   เป็น ませんでした

ตัวอย่าง
書きますเขียน書きませんでしたไม่ได้เขียน
読みますอ่าน読みませんでしたไม่ได้อ่าน
起きますตื่น起きませんでしたไม่ได้ตื่น
ますนอน寝ませんでしたไม่ได้นอน
ますมาきませんでしたไม่ได้มา
ますทำしませんでしたไม่ได้ทำ

ยังมีรูปแบบการผันอื่นๆ อีกมากมาย เอาไว้จะมาให้ความรู้ต่อเนื่องในบทความต่อๆ ไป

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-3 : คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น (1)

คำกริยา (動詞・どうし)
หมายถึง คำที่ทำหน้าที่แสดงการกระทำ หรือสภาพ หรืออาการของประธานในประโยค ซึ่งแบ่งออกเป็น

1. อกรรมกริยา (自動詞・じどうし)
    หมายถึง คำกริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ

2. สกรรมกริยา (他動詞・たどうし)
    หมายถึง คำกริยาที่จำเป็นจะต้องมีกรรมมารองรับ

คำกริยาพื้นฐานที่ควรรู้ไว้
นอน2ねる寝る
ตื่น2おきる起きる
ยืน1たつ立つ
นั่ง1すわる座る
ดู2みる見る
ฟัง1きく聞く
พูด1いう言う
อ่าน1よむ読む
เขียน1かく書く
สอน2おしえる教える
เรียน1ならう習う
เข้าใจ1わかる分かる
รู้1しる知る
ทำ1やる
ทำ1する
จำ2おぼえる覚える
ลืม2わすれる忘れる
รอ1まつ待つ
ดื่ม1のむ飲む
กิน2たべる食べる
เล่น,เที่ยว1あそぶ遊ぶ
เดิน1あるく歩く
วิ่ง1はしる走る
ว่ายน้ำ1およぐ泳ぐ
ไป1いく行く
มา3くる来る
กลับ1かえる帰る
รับ1もらう貰う
ให้2あげる挙げる
ใช้1つかう使う
ถือ1もつ持つ
ซื้อ1かう買う
ขาย1うる売る
จ่าย1はらう払う
ยืม2かりる借りる
มี(สิ่งของ)1ある
คืน1かえす返す
ทำหาย1なくす無くす
พักค้างคืน1とまる泊まる
อยู่อาศัย1すむ住む
เข้า1はいる入る
ออก2でる出る
มี,อยู่(คน,สัตว์)2いる
กลายเป็น1なる
มองเห็น2みえる見える
ได้ยิน2きこえる聞こえる
จด,คัดลอก1かきとる書き取る
ฟังจับใจความ1ききとる聞き取る
ถาม1きく聞く
ตอบ2こたえる答える
บอก2つたえる伝える
คุย1はなす話す
นำ,พา2つれる連れる
รับ(คน)2むかえる迎える
ส่ง(คน)1みおくる見送る
ลง(รถ)2おりる降りる
ขึ้น(รถ),
ลง(เรือ),
ขี่
1のる乗る
ถึง(ที่หมาย)1つく着く
เปลี่ยนสาย,
ต่อรถ
2のりかえる乗り換える
วกกลับ1もどる戻る
มุ่งสู่.
หันเข้าหา
1むかう向かう
หยุด,จอด(รถ)1とまる止まる
ลอด,ผ่าน1とおる通る
ข้าม1わたる渡る
เลี้ยว,
โค้ง,งอ
1まがる曲がる
เรียก1よぶ呼ぶ
หา1さがす探す
มาพบ1あう会う
หลบเลี่ยง2よける避ける
เลี้ยง(สัตว์)1かう飼う
ตกปลา1つる釣る
ปลูก(พืช)2うえる植える
ทำให้คืบหน้า2すすめる進める
มาสาย1おくれる遅れる
หายลับ
(ไฟ)ดับไป
2きえる消える
ขอร้อง,ไหว้วาน1たのむ頼む
พึ่งพา1たよる頼る
ลงมา(ที่ต่ำ)1さがる下がる
ขึ้นไป(ที่สูง)1あがる上がる
ยกขึ้น,
ทำให้สูงขึ้น
2あげる上げる
เอาลง,
ทำให้ต่ำลง
2さげる下げる
วาง1おく置く
ตัดสินใจ2きめる決める
ต้องการ1いる要る
เลือก,1えらぶ選ぶ
หยิบจับ,รับมา,
เอา,ครอบครอง
1とる取る
เล่นดนตรี1ひく弾く
ร้องเพลง1うたう歌う>/td>
เต้นรำ1おどる踊る
พักผ่อน1やすむ休む
ทำงาน1はたらく働く
พยายาม1がんばる頑張る
ตั้งใจ1こことざす志す
ใช้ความคิด,
ทบทวน,ตัดสินใจ
1かんがえる考える
พิจารณา1みなす見なす
รู้สึก2かんじる感じる
นึก,คิด1おもう思う
ตาย1しぬ死ぬ

จากในตารางข้างต้น จะเห็นว่ามีตัวเลข 1,2,3 กำกับอยู่ด้วย ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ใช้จำแนกคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโดยแบ่งตามลักษณะการผันออกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มหลักๆ ได้ดังนี้

1. คำกริยากลุ่มที่ 1
คือ คำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียงสระอุของทุกวรรค
ยกเว้น คำที่ลงท้ายด้วยเสียงสระอิ หรือเอะ + る
เช่น 立つ,座る,聞く,言う,読む,書く
ซึ่งสามารถผันตัวอักษรที่ลงท้ายได้ทุกเสียง
ทั้งสระอะ,อิ,อุ,เอะ,โอะ

2. คำกริยากลุ่มที่ 2
คือ คำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียงสระอิ หรือเอะ + る
ยกเว้น บางคำที่จัดอยู่ในคำกริยากลุ่มที่ 1
เช่น 寝る,起きる,見る,教える,覚える,忘れる
ซึ่งสามารถผันตัวอักษรที่ลงท้ายได้แค่เสียงเดียว

3. คำกริยากลุ่มที่ 3
คือ คำกริยากลุ่มพิเศษ ได้แก่ 来る กับ する
รวมไปถึงคำที่ลงท้ายด้วย 来る และ する ด้วย
ซึ่งมีวิธีการผันโดยการเปลี่ยนรูป

ในบทความต่อไปเราจะมาสอนเกี่ยวกับเทคนิควิธีการจำคู่อกรรมกริยากับสกรรมกริยา และการผันคำกริยาให้อยู่ในรูปต่างๆ อย่างละเอียด

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-2 : คำขยายหน้าคำนาม

คำขยายหน้าคำนาม (連体詞・れんたいし)
หมายถึง คำที่ไม่มีการผันรูป และทำหน้าที่ขยายหน้าคำนามเพียงเท่านั้น โดยไม่ต้องใช้คำช่วยเชื่อม

คำขยายหน้าคำนามพื้นฐานที่ควรรู้ไว้
この...นี้
その...นั้น
あの...โน้น
どの...ไหน
こういう...เช่นนี้, ...แบบนี้,
...อย่างนี้
そういう...เช่นนั้น, ...แบบนั้น,
...อย่างนั้น
ああいう...เช่นโน้น, ...แบบโน้น,
...อย่างโน้น
どういう...เช่นไร, ...อย่างไร
例のれいの...ตัวอย่าง
本物のほんもの...ตัวจริง, ...ที่แท้จริง
同じおなじ...เดียวกัน
別のべつの...อื่น
全てのすべての...ทั้งหมด
我がわが...ของข้า, ...ของเรา
我等がわれらが...ของพวกเรา
ある...หนึ่ง
あらゆる...ทั้งหมด, ทุก...
いわゆるเรียกได้ว่า...
いかなる...แบบไหน
大きなおおきな...ที่มีขนาดใหญ่
小さなちいさな...ที่มีขนาดเล็ก
いろんな...ต่างๆ, ...หลากหลาย
大したたいした...สำคัญ, ...ใหญ่โต
たったเพียงแค่...

วิธีการใช้คำเหล่านี้สามารถทำได้ง่ายๆ 
โดยการนำมาวางข้างหน้าคำนามได้เลย 

ตัวอย่าง

このディオだ! 
หมายความว่า "ดิโอผู้นี้ ยังไงล่ะ!"
หมายเหตุ
- ディオ เป็นวิสามัญนามชื่อบุุคคล (ดิโอ)
- ใช้แสดงความคิดตัดสินของผู้พูดว่าเป็นเช่นนั้น

どういう意味!? 
หมายความว่า "หมายความว่ายังไง!?"
หมายเหตุ
- 意味 (いみ)  แปลว่า "ความหมาย"

真実たった一つ!! 
หมายความว่า "ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว!!”
หมายเหตุ
- 真実 (しんじつ) เป็นคำนามแปลว่า "ความจริง"
- เป็นคำช่วยชี้หัวเรื่อง

บทที่ 2-1 : คำนามในภาษาญี่ปุ่น (5)

7. คำนามโดยหน้าที่ (形式名詞・けいしきめいし)
หมายถึง คำนามที่แทบจะไม่มีความหมายในตัวของมันเอง ต้องนำมาเชื่อมต่อท้ายคำอื่นๆ เพื่อทำให้มีความหมายสมบูรณ์ ซึ่งความหมายก็จะปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของข้อความ หรือรูปไวยากรณ์ที่นำมาประกอบ โดยมักจะเขียนเป็นตัวอักษรฮิรางานะ

คำนามโดยหน้าที่ที่ใช้บ่อย
ことเรื่อง..., การ...
การ...
สามารถใช้แทนことได้ ยกเว้นในบางกรณี
ものสิ่งที่..., อะไรที่...
わけก็เลย..., ถึงได้...
はずน่าจะต้อง...
うちในระหว่างที่...
ところในสภาพที่..., จุดที่...
つもりตั้งใจที่จะ...
ためเนื่องจาก..., เพื่อ...
ほうด้าน...
とおりตามที่...

ความหมายของคำนามโดยหน้าที่ที่ปรากฏในตารางข้างต้นนี้เป็นเพียงความหมายหลักๆ ที่ใช้โดยทั่วไปเท่านั้น ซึ่งรายละเอียดการใช้แต่ละคำนั้น เราจะอธิบายเพิ่่มเติมในบทความเรื่องไวยากรณ์แต่ละระดับทีหลัง

8. คำนามที่แปลงรูปมา (転成名詞・てんせいめいし)
หมายถึง คำนามที่แปลงรูปมาจากคำกริยา หรือคำคุณศัพทฺ์

-จบเรื่องคำนาม-

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-1 : คำนามในภาษาญี่ปุ่น (4)

6. คำนามบอกเวลา (時名詞・ときめいし)
หมายถึง คำนามชนิดที่มีหน้าที่ในการบอกจุด หรือช่วงเวลาต่างๆ โดยมักจะใช้ร่วมกับคำช่วย หรือในบางครั้งเราสามารถที่จะละคำช่วยนี้ไว้ก็ได้ ซึ่งมีดังนี้

ช่วงเวลาต่างๆ ใน 1 วัน
ตอนเช้าあさ
ตอนกลางวันひる
ตอนเย็นばん
ตอนกลางคืนよる

เวลาใน 24 ชั่วโมง
เที่ยงคืนごごじゅうにじ午後12時
เที่ยงคืนごぜんれいじ午前0時
ตี 1ごぜんいちじ午前1時
ตี 2ごぜんにじ午前2時
ตี 3ごぜんさんじ午前3時
ตี 4ごぜんよんじ午前4時
ตี 5ごぜんごじ午前5時
6 โมงเช้าごぜんろくじ午前ุ6時
7 โมงเช้าごぜんしちじ午前7時
8 โมงเช้าごぜんはちじ午前8時
9 โมงเช้าごぜんくじ午前9時
10 โมงเข้าごぜんじゅうじ午前10時
11 โมงごぜんじゅういちじ午前11時
เที่ยงวันごごじゅうにじ午後12時
เที่ยงวันごごれいじ午後0時
บ่ายโมงごごいちじ午後1時
บ่าย 2 โมงごごにじ午後2時
บ่าย 3 โมงごごさんじ午後3時
4 โมงเย็นごごよんじ午後4時
5 โมงเย็นごごごじ午後5時
6 โมงเย็นごごろくじ午後6時
ๅ ทุ่มごごしちじ午後7時
2 ทุ่มごごはちじ午後8時
3 ทุ่มごごくじ午後9時
4 ทุ่มごごじゅうじ午後10時
5 ทุ่มごごじゅういちじ午後11時

ข้อสังเกต ถ้าเป็นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนไปถึงเที่ยงวัน จะใช้คำว่า 午前 ส่วนถ้าเป็นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปจะใช้คำว่า 午後 และนอกจากนี้เรายังสามารถใช้ 夜 นำหน้าแทนทั้งสองคำเพื่อบอกเวลาในช่วงกลางคืนได้อีกด้วย

นาที
1 นาทีいっぷん1分
2 นาทีにふん2分
3 นาทีさんぷん3分
4 นาทีよんぷん4分
5 นาทีごふん5分
6 นาทีろっぷん6分
7 นาทีななふん7分
8 นาทีはっぷん8分
9 นาทีきゅうふん9分
10 นาทีじゅっぷん10分
20 นาทีにじゅっぷん20分
30 นาทีさんじゅっぷん30ิ分
30 นาทีはん
40 นาทีよんじゅっぷん40分
50 นาทีごじゅっぷん50分

ในการอ่านเลขนาทีอื่นๆ ก็ให้อ่านเป็นตัวเลขปกติ แล้วดูตัวเลขในหลักหน่วยว่าเป็นเลขอะไร ก็ให้อ่านออกเสียงตัวเลขในหลักหน่วยนั้นกับ分 ตามตารางข้างต้น

วันใน 1 สัปดาห์
วันอาทิตย์にちようび日曜日
วันอังคารかようび火曜日
วันพุธすいようび水曜日
วันพฤหสบดีもくようび木曜日
วันศุกร์きんようび金曜日
วันเสาร์どようび土曜日

วันที่
วันที่ 1ついたち1日
วันที่ 2, 2 วันふつか2日
วันที่ 3, 3 วันみっか3日
วันที่ 4, 4 วันよっか4日
วันที่ 5, 5 วันいつか5日
วันที่ 6, 6 วันむいか6日
วันที่ 7, 7 วันななのか7้日
วันที่ 8, 8 วันようか8日
วันที่ 9, 9 วันここのか9日
วันที่ 10, 10 วันとおか10日
วันที่ 20, 20 วันはつか20日

วันที่อื่นๆ ให้อ่านเป็นตัวเลขปกติตามด้วย にち (日) เช่น วันที่ 12 อ่านว่่า じゅうににち, วันที่ 24 อ่านว่า にじゅうよんにち
เดิอน
มกราคมいちがつ1月
กุมภาพันธ์にがつ2月
มีนาคมさんがつ3月
เมษายนしがつ4月
พฤษภาคมごがつ5月
มิถุนายนろくがつ6月
กรกฎาคมしちがつ7月
สิงหาคมはちがつ8月
กันยายนくがつ9月
ตุลาคมじゅうがつ10月
พฤศจิกายนじゅういちがつ11月
ธันวาคมじゅうにがつ12月

การอ่านปีในภาษาญี่ปุ่น ให้อ่านเป็นตัวเลขปกติ ตามด้วย ねん (年) เช่น ปี 1995 เขียนวา 1995年 อ่านว่า せんきゅうひゃくきゅうじゅうごねん เป็นต้น

ฤดูกาลต่างๆ
ฤดูร้อนなつ
ฤดูหนาวふゆ
ฤดูใบไม้ผลิはる
ฤดูใบไม้ร่วงあき
ฤดูฝนうき雨季

คำนามบอกวันเวลาอื่นๆ โดยทั่วไป
ตอนนี้いま
เมื่อตะกี้さっき
เช้านี้けさ今朝
คืนนี้こんばん今晩
เมื่อคืนゆうべ昨夜
วันนี้きょう今日
พรุ่งนี้あした明日
เมื่อวานきのう昨日
มะรืนนี้あさって明後日
เมื่อวานซืนおととい一昨日
อาทิตย์นี้こんしゅう今週
อาทิตย์หน้าらいしゅうう来週
2 อาทิตย์หน้าさらいしゅう再来週
อาทิตย์ก่อนせんしゅう先週
เดือนนี้こんげつ今月
เดือนหน้าらいげつ来月
2 เดือนหน้าさらいげつ再来月
เดือนก่อนせんげつ先月
ต้นเดือนじょうじゅん上旬
กลางเดือนちゅうじゅん中旬
ปลายเดือนげじゅん下旬
ปีนี้ことし今年
ปีหน้าらいねん来年
2 ปีหน้าさらいねん再来年
ปีก่อนきょねん去年

ยังมีคำนามบอกเวลาอื่นๆ อีกที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ แต่ขอยกมาให้ดูเพียงเท่านี้ก่อน

หมายเหตุ คำนามบอกเวลาที่เป็นการบอกเวลาอย่างกว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นเวลานาทีหรือวันที่เมื่อไหร่ตอนไหนนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้คำช่วย に 

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-1 : คำนามในภาษาญี่ปุ่น (3)

4. ตัวเลข (数字・すうじ)
จัดว่าเป็นคำนามชนิดหนึ่ง ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นมีวิธีการนับ และใช้ตัวคันจิแสดงความหมาย ดังนี้

1いち
2
3さん
4よん
5
6ろく
7なな
8はち
9きゅう
10
หลักสิบ
じゅう
100
หลักร้อย
ひゃく
1,000
หลักพัน
せん
หลักหมื่นまん
100 ล้าน
หลักร้อยล้าน
おく

ในการนับจำนวนอื่นๆ ตั้งแต่หลักสิบขึ้นไปนั้น ให้อ่านตัวเลขข้างหน้าก่อน ตามด้วยตัวแสดงหลักที่ตามมาหรือดูว่าตัวเลขนั้นอยู่หลักอะไร จากนั้นค่อยอ่านตัวเลขตัวถัดมาเรื่อยๆ จนครบ

ตัวอย่างเช่น

69 เขียนเป็นตัวคันจิได้ว่า 六十九
อ่านว่า ろくじゅうきゅう

420 เขียนเป็นตัวคันจิได้ว่า 四百二十
อ่านว่า よんひゃくにじゅう

9,999 เขียนเป็นตัวคันจิได้ว่า 九千九百九十九
อ่านว่า きゅうせんきゅうひゃくきゅうじゅうきゅう

ยกเว้น บางจำนวนซึ่งมีวิธีการอ่านที่เฉพาะ ดังนี้

300さんびゃく三百
ุ600ろっぴゃく六百
800はっぴゃく八百
3,000さんぜん三千
8,000はっせん八千

การนับจำนวนที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการนับจำนวนแบบทั่วไป ที่มีแค่ตัวเลข ยังไม่มีการใช้ลักษณะนามหรือหน่วยนับหรือคำตามหลังตัวเลขมาเกี่ยวข้อง
โดยต่อไปจะสอนเกี่ยวกับคำลักษณะนามต่างๆ ในภาษาญี่ปุ่น

5. ลักษณะนาม (助数詞・じょすうし)
หมายถึง คำนามที่เป็นหน่วยนับต่างๆ ที่ใช้วางข้างหลังตัวเลขที่เป็นจำนวนนับ ซึ่งสามารถสะท้อนรูปร่างลักษณะของสิ่งๆ นั้นได้

ลักษณะนามแสดงจำนวนคน
1 คนひとり一人
2 คนふたり二人
3 คนさんにん三人
4 คนよんにん四人
5 คนごにん五人

หมายเหตุ ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ให้นับเป็นตัวเลขปกติ ตามด้วย にん (人)

ลักษณะนามที่ใช้ได้ทั่วไป
เพื่อแสดงจำนวนสิ่งของ และเรื่องราว
(อัน,ชิ้น,ผล,ลูก,ก้อน,ข้อ,อย่าง,เรื่อง)
1 อัน,1 ชิ้น,1 ผล,1 ลูก,
1 ก้อน,1 ข้อ,1 อย่าง,1 เรื่อง
ひとつ一つ
2 อัน,2 ชิ้น,2 ผล,2 ลูก,
2 ก้อน,2 ข้อ,2 อย่าง,2 เรื่อง
ふたつ二つ
3 อัน,3 ชิ้น,3 ผล,3 ลูก,
3 ก้อน,3 ข้อ,3 อย่าง,3 เรื่อง
みっつ三つ
4 อัน,4 ชิ้น,4 ผล,4 ลูก,
4 ก้อน,4 ข้อ,4 อย่าง,4 เรื่อง
よっつ四つ
5 อัน.5 ชิ้น,5 ผล,5 ลูก,
5 ก้อน,5 ข้อ,5 อย่าง,5 เรื่อง
いつつ五つ
6 อัน,6 ชิ้น,6 ผล,6 ลูก,
6 ก้อน,6 ข้อ,6 อย่าง,6 เรื่อง
むっつ六つ
7 อัน,7 ชิ้น,7 ผล,7 ลูก,
7 ก้อน,7 ข้อ,7 อย่าง,7 เรื่อง
ななつ七つ
8 อัน,8 ชิ้น,8 ผล,8 ลูก,
8 ก้อน,8 ข้อ,8 อย่าง,8 เรื่อง
ななつ七つ
9 อัน,9 ชิ้น,9 ผล,9 ลูก,
9 ก้อน,9 ข้อ,9 อย่าง,9 เรื่อง
ここのつ九つ
10 อัน,10 ชิ้น,10 ผล,10 ลูก,
10 ก้อน,10 ข้อ,10 อย่าง,10 เรื่อง
とお
11 อัน,11 ชิ้น,11 ผล,11 ลูก,
11 ก้อน,11 ข้อ,11 อย่าง,11 เรื่อง
じゅういっこ十一個
12 อัน,12 ชิ้น,12 ผล,12 ลูก,
12 ก้อน,12 ข้อ,12 อย่าง,12 เรื่อง
じゅうにこ十二個

หมายเหตุ ตั้งแต่ 12 อันเป็นต้นไป ให้นับเป็นตัวเลขปกติ ตามด้วย こ (個)
และตั้งแต่ 1 ก็สามารถนับเป็นตัวเลขปกติ ตามด้วยこ (個) ก็ได้เช่นกัน

ลักษณะนามแสดงจำนวน
สิ่งของที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง
(ใบ,ผืน,แผ่น)
1 ใบ,1 ผืน,1 แผ่นいちまい一枚
2 ใบ,2 ผืน,2 แผ่นにまい二枚

หมายเหตุ ให้นับเป็นตัวเลขปกติ ตามด้วย まい (枚)

ลักษณะนามแสดงจำนวน
สิ่งของที่มีลักษณะเรียวยาว
(แท่ง,ท่อน,ด้าม,คัน,ม้วน)
1 แท่ง,1 ท่อน,1 ด้าม
1 คัน,1 ม้วน
いっぽん一本
2 แท่ง,2 ท่อน,2 ด้าม
2 คัน,2 ม้วน
にほん二本
3 แท่ง,3 ท่อน,3 ด้าม
3 คัน,3 ม้วน
さんぼん三本
4 แท่ง,4 ท่อน,4 ด้าม
4 คัน,4 ม้วน
よんほん四本
5 แท่ง,5 ท่อน,5 ด้าม
5 คัน,5 ม้วน
ごほん五本
6 แท่ง,6 ท่อน,6 ด้าม
6 คัน,6 ม้วน
ろっぽん六本
7 แท่ง,7 ท่อน,7 ด้าม
7 คัน,7 ม้วน
ななぽん七本
8 แท่ง,8 ท่อน,8 ด้าม
8 คัน,8 ม้วน
はっぽん八本
9 แท่ง,9 ท่อน,9 ด้าม
9 คัน,9 ม้วน
きゅうほん九本
10 แท่ง,10 ท่อน,10 ด้าม
10 คัน,10 ม้วน
じゅっぽん十本

หมายเหตุ จำนวนนับในลำดับถัดไปให้นับเป็นเลขปกติ แต่อ่านตัวเลขลงท้ายหรือตัวเลขในหลักหน่วยให้สอดคล้องกับในตารางข้างต้น เช่น 11 แท่ง เป็น じゅういっぽん, 12 แท่ง เป็น じゅうにほん, 13 แท่ง เป็น  じゅうさんぼん. 20 แท่ง เป็น にじゅっぽん เป็นต้น

ลักษณะนามแสดงจำนวน
สิ่งของที่เป็นภาชนะต่างๆ
(แก้ว,ถ้วย,ชาม)
1 แก้ว,1 ถ้วย,1 ชามいっぱい一杯
2 แก้ว,2 ถ้วย,2 ชามにはい二杯
3 แก้ว,3 ถ้วย,3 ชามさんばい三杯
4 แก้ว,4 ถ้วย,4 ชามよんはい四杯
5 แก้ว,5 ถ้วย,5 ชามごはい五杯
6 แก้ว,6 ถ้วย,6 ชามろっぱい六杯
7 แก้ว,7 ถ้วย,7 ชามななはい七杯
8 แก้ว,8 ถ้วย,8 ชามはっぱい八杯
9 แก้ว,9 ถ้วย,9 ชามきゅうはい九杯
10 แก้ว,10 ถ้วย, 10 ชามじゅっぱい十杯

หมายเหตุ จำนวนนับในลำดับถัดไปให้นับเป็นเลขปกติ แต่อ่านตัวเลขลงท้ายหรือตัวเลขในหลักหน่วยให้สอดคล้องกับในตารางข้างต้น เช่น 11 แก้ว เป็น じゅういっぱい, 12 แก้ว เป็น じゅうにはい, 13 แก้ว เป็น  じゅうさんばい, 20 แท่ง เป็น にじゅっぱい เป็นต้น

ลักษณะนามแสดงจำนวน
สิ่งของที่เป็นยานพาหนะ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
(คัน,เครื่อง,ตัว)
1 คัน,1 เครื่อง,1 ตัวいちだい一台
2 คัน,2 เครื่อง,2 ตัวにだい二台

หมายเหตุ ให้นับเป็นตัวเลขปกติ ตามด้วย だい (台)

ลักษณะนามแสดงจำนวน
สมุด,หนังสือ (เล่ม)
1 เล่มいっさつ一冊
2 เล่มにさつ二冊
3 เล่มさんさつ三冊
8 เล่มはっさつ八冊
9 เล่มきゅうさつ九冊
10 เล่มじゅっさつ十冊

หมายเหตุ จำนวนนับในลำดับอื่นๆ ให้นับเป็นเลขปกติ ตามด้วย さつ (冊) ยกเว้นจำนวนนับที่ลงท้ายด้วย 1,8,10 ให้นับตัวเลขลงท้าย หรือตัวเลขในหลักหน่วยเหมือนในตาราง เช่น 11 เล่ม เป็น じゅういっさつ,18 เล่ม じゅうはっさつ เป็นต้น

ลักษณะนามแสดงจำนวนสัตว์ (ตัว)
1 ตัวいっぴき一匹
2 ตัวにひき二匹
3 ตัวさんびき三匹
4 ตัวよんひき四匹
5 ตัวごひき五匹
6 ตัวろっぴき六匹
7 ตัวななひき七匹
8 ตัวはっぴき八匹
9 ตัวきゅうひき九匹
10 ตัวじゅっぴき十匹

หมายเหตุ จำนวนนับในลำดับถัดไปให้นับเป็นเลขปกติ แต่อ่านตัวเลขลงท้ายหรือตัวเลขในหลักหน่วยให้สอดคล้องกับในตารางข้างต้น เช่น 11 ตัว เป็น じゅういっぴき, 12 ตัว เป็น じゅうにひき, 13 ตัว เป็น  じゅうさんびき, 20 ตัว เป็น にじゅうひき เป็นต้น 

ข้อควรจำ ถ้าไม่รู้ว่าจะใช้ลักษณะนามอะไรให้นับเป็นตัวเลขปกติ ตามด้วย こ (個)

นอกจากนี้ยังมีลักษณะนามอื่นๆ อีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง


วิธีการใช้คำลักษณะนาม
  1. จำนวนนับ ลักษณะนาม สิ่งที่นับ
  2. สิ่งที่นับを/が จำนวนนับ ลักษณะนาม คำกริยา
ตัวอย่าง いる
    มีสุนัข 2 ตัว

                ある
    มีรถ 3 คัน

                4ください
    ขอน้ำ 4 แก้ว

       5
    ผู้ชาย 5 คน

ข้อควรจำ
  • หลังคำลักษณะนาม ถ้าเป็นคำกริยา ไม่ต้องมีคำช่วย
  • แต่ถ้าเป็นคำนาม ให้ใช้คำช่วย の ตามปกติ
  • いる แปลว่า "มี" ใช้กับสิ่งมีชีวิต เช่น คน,สัตว์
  • ある แปลว่า "มี" ใช้กับสิ่งของ หรือสิ่งไม่มีชีวิต
วิธีการถามจำนวน
ให้ใช้คำว่า なん (何) ตามด้วย ลักษณะนามของสิ่งที่นับ
เช่น 何人 กี่คน, 何匹 กี่ตัว, 何台 กี่คัน, 何冊 กี่เล่ม
หรือสามารถใช้ どのくらい/どのぐらい แทนก็ได้

- จบเรื่องตัวเลข และลักษณะนาม -

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-1 : คำนามในภาษาญี่ปุ่น (2)

ต่อจากบทความที่แล้วซึ่งเราได้สอนเกี่ยวกับสามัญนาม หรือคำนามโดยทั่วไป และวิสามัญนาม หรือคำนามชี้เฉพาะไปแล้ว มาในบทความนี้เราจะมาสอนเกี่ยวกับคำสรรพนาม

3. สรรพนาม (代名詞・だいめいし)
หมายถึง คำนามที่ใช้เรียกแทนคำนามอื่น
ซึ่งยังสามารถแบ่งแยกย่อยได้ดังนี้

3.1 บุรุษสรรพนาม (人代名詞・ひとだいめいし)
หมายถึง สรรพนามที่ใช้เรียกแทนตัวบุคคลที่เป็นผู้พูด-ผู้เขียน หรือผู้ส่งสาร, ผู้ฟัง-ผู้อ่าน หรือผู้รับสาร และผู้ที่ถูกกล่าวถึง

ตัวอย่างสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้พูด-ผู้เขียน หรือผู้ส่งสาร
ฉัน (ใช้ทั่วไป)わたし
ฉัน (ผู้หญิงใช้)あたし
ผม (ผู้ชายใช้)ぼく
กระผม
ดิฉัน
ข้าพเจ้า
わたくし
กู,ข้า,ฉัน
(ไม่สุภาพ,
แฝงความโกรธ)
おれ

ตัวอย่างสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้ฟัง-ผู้อ่าน หรือผู้รับสาร
คุณ,เธอ
(ทั่วไป,ทางการ)
あなた貴方
นาย,เธอ
(คนระดับเดียวกัน
หรือต่ำกว่า,เพื่อน,
เรียกแบบเป็นกันเอง,
เรียกแบบสนิทสนม)
きみ
มึง,แก,นาย
(ไม่สุภาพ,
ใช้เรียกเพือน
หรือคนสนิท,
แฝงความดูถูก)
おまえお前
มึง,แก
(ไม่สุภาพ,
เรียกผู้ที่ต่ำกว่า,
แฝงความดูถูก)
きさま貴様

ตัวอย่างบุรุษสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้ถูกกล่าวถึง
เขา (ผู้ชาย)かれ
เธอ
เขา (ผู้หญิง)
แฟนสาว
かのじょ彼女

หมายเหตุ การใช้บุรุษสรรพนามแทนตัวผู้พูด และผู้ฟัง รวมถึงผู้ที่ถูกกล่าวถึงในภาษาญี่ปุ่นต้องระมัดระวังเป็นอยางมากถึงสถานภาพของบุคคลที่เรากำลังสนทนาด้วย เช่นเดียวกันกับภาษาไทย

ข้อควรระวัง สำหรับคำว่า "あなた" นั้น ในกรณีที่เรารู้จักชื่ออยู่แล้ว ให้เรียกด้วยชื่อแล้วเติม さん หรือเรียกชื่อไปเลยสำหรับคนที่สนิท ดูจะเหมาะสมกว่าการเรียกว่า あなた ทั้งๆที่รู้จ้กชื่อกันดีอยู่แล้ว

นอกเหนือจากบุรุษสรรพนามที่เป็นสรรพนามที่ใช้เรียกแทนตัวบุคคลที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีคำอื่นๆ ที่ใช้เรียกแทนตัวบุคคลอีก ดังต่อไปนี้

ท่านผู้นี้,คนนี้
(คนทางฝั่งผู้พูด)
このかたこの方
ท่านผู้นั้น,คนนั้น
(คนทางฝั่งผู้ฟัง)
そのかたその方
ท่านผู้นั้น,คนโน้น
(คนที่ถูกกล่าวถึง)
ไกลจากผู้พูด และผู้ฟัง)
あのこたあの方
ไอ้หมอนี่,เจ้าหมอนี่
(คนทางฝั่งผู้พูด)
こいつ
ไอ้หมอนั่น,นายคนนั้น
(คนทางฝั่งผู้ฟัง)
そいつ
ไอ้หมอนั่น
(คนที่ถูกกล่าวถึง)
ไกลจากผู้พูด และผู้ฟัง)
あいつ
ท่านผู้ใด,ใครどなた何方
ใครだれ

3.2 สรรพนามบ่งชี้ (指示代名詞・しじだいめいし)
หมายถึง สรรพนามที่ใช้เรียกแทนสิ่งต่างๆ ซึ่งมีดังนี้

สรรพนามบ่งชี้ที่ใช้เรียกแทนสิ่งของ และเรื่องราวต่างๆ
นี่,สิ่งนี้,อันนี้
(สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้พูด)
これ
นั่น,สิ่งนั้น,อันนั้น
(สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้ฟัง)
それ
โน่น,สิ่งโน้น,อันโน้น,ไอ้นั่น
(ใช้เป็นคำเลี่ยงได้ด้วย)
あれ
ไหน,สิ่งไหน,อันไหนどれ

สรรพนามบ่งชี้ที่ใช้เรียกแทนสถานที่ต่างๆ
ที่นี่,ตรงนี้ここ
ที่นั่น,ตรงนั้นそこ
ที่โน่น,ตรงโน้นあそこ
ที่ไหน,ตรงไหนどこ

สรรพนามบ่งชี้ที่ใช้เรียกแทนทิศทางต่างๆ
ทางนี้,ทางฝ่ายนี้こちら
ทางนี้
(พูดเป็นกันเอง)
こっち
ทางนั้นそちら
ทางนั้น
(พูดเป็นกันเอง)
そっち
ทางโน้นあちら
ทางโน้น
(พูดเป็นกันเอง)
あっち
ทางไหนどちら
ทางไหน, อันไหน
(พูดเป็นกันเอง)
どっち

- พอแค่นี้ก่อนนะ -
ในบทความนี้เราขอจบแค่ตรงสรรพนามก่อน และในบทความต่อไปเราจะมาสอนเกี่ยวกับตัวเลข และคำลักษณะนามในภาษาญี่ปุ่นต่อ

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-1 : คำนามในภาษาญี่ปุ่น (1)

คำนาม (名詞・めいし) 
หมายถึง คำที่ใช้เรียกคน, สัตว์,สิ่งของ และสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น อารมณ์ความรู้สึก มีหน้าที่ในประโยคหลักๆ ดังนี้
  1. เป็นหัวเรื่อง โดยใช้คำช่วย 
  2. เป็นประธาน โดยใช้คำช่วย
  3. เป็นกรรมตรง โดยใช้คำช่วย
  4. เป็นกรรมรอง โดยใช้คำช่วย
  5. ขยายหน้าคำนามอื่น โดยใช้คำช่วย
  6. บอกตำแหน่ง หรือพิกัด โดยใช้คำช่วย  
  7. บอกทิศทางการเดินทาง โดยใช้คำช่วย
  8. บอกจุดหมาย หรือจุดประสงค์ โดยใช้คำช่วย
  9. บอกสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำ โดยใช้คำช่วย
  10. บอกจุดเวลา โดยใช้คำช่วย
  11. เป็นส่วนเติมเต็มของประโยค
  12. ใช้ร่วมกับคำช่วยอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
คำนามในภาษาญี่ปุ่นนั้นยังสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกหลายชนิด ได้แก่

1. สามัญนาม (普通名詞・ふつうめいし)
หมายถึง คำนามที่เป็นคำเรียกบุคคล, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ต่างๆ โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง

คำสามัญนามพื้นฐานที่ควรรู้ไว้
คนひと
ผู้หญิงおんな
ผู้ชายおとこ
เด็ก, ลูกこども子供
ผู้ใหญ่おとな大人
วัยรุุ่นわかもの若者
คนชราとしより年寄り
ครอบครัว
คนในครอบครัว
かぞく 家族
พ่อ(ตัวเอง)ちち
พ่อ(ทั่วไป)お父さんお父さん
แม่(ตัวเอง)はは
แม่(ทั่วไป)おかあさんお母さん
เพื่อนともだち友達
คนรักこいびと恋人
คนรู้จักしりあい知り合い
เจ้านายじょうし上司
ลูกน้องぶか部下
พนักงานบริษัทかいしゃいん会社員
นักเรียนがくせい学生
ครู,อาจารย์(คำเรียก)せんせい先生
หมอいしゃ医者
ตำรวจけいさつ警察
สัตว์どうぶつ動物
หมีくま
เสือとら
สัตว์เลี้ยงペット
สุนัขいぬ
แมวねこ
นกとり
สิ่งของもの
สัมภาระにもつ荷物
เสื้อผ้าふく
อาหารりょうり料理
น้ำみず
ยาくすり
กระเป๋าสะพาย
เป้
かばん
กระเป๋าสตางค์さいふ財布
เงินおかねお金
มือถือけいたいでんわ携帯電話
ชื่อなまえ名前
ที่อยู่じゅうしょ住所
เบอร์โทรศัพท์ でんわばんごう電話番号
บ้าน
(ทางความรู้สึก)
うち
บ้าน
(ที่อยู่อาศัย)
いえ
โรงเรียนがっこう学校
ที่ทำงานしょくば職場
บริษัทかいしゃ会社
ภัตตาคาร,
ร้านอาหาร
レストラン
โรงพยาบาลびょういん病院
ห้างสรรพสินค้าデーパト
ซูปเปอร์มาร์เก็คスーパー
ร้านสะดวกซื้อ
มินิมาร์ท
コンビニ
สถานีรถไฟえき
ป้ายรถประจำทางバスていバス停
สนามบินくうこう空港
รถยนต์くるま
จักรยานじてんしゃ自転車
รถไฟฟ้าでんしゃ電車
รถไฟใต้ดินちかてつ地下鉄
เครื่องบินひこうき飛行機
รถประจำทางバス

2. วิสามัญนาม (固有名詞・こゆうめいし)
หมายถึง คำนามที่ใช้เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง เช่น ชือบุคคล ชื่อสัตว์เลี้ยง ชื่อสถานที่

ตัวอย่างคำวิสามัญนาม 
ประเทศไทยタイ
ประเทศญี่ปุ่นにほん日本
คุโจ โจทาโร่くうじょう じょうたろう空条 承太郎
โจรูโน่ โจบาน่าジョルノ・ジョバァーナ
สตาร์ แพลตตินัมスタープラチナ

- พอแค่นี้ก่อน -
- ไว้มาต่อกันที่บทความหน้า -

บทที่ 2 : คำแต่ละชนิดในภาษาญี่ปุ่น

คำในภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งได้มากมายหลายชนิด
ซึ่งคำหนึ่งคำนั้นสามารถจัดให้เป็นคำชนิดใดชนิดหนึ่ง
และหรือเป็นได้มากกว่า 1 ชนิดในคำๆเดียว ดังนี้
  1. คำนาม (名詞・めいし)
  2. คำกริยา (動詞・どうし)
  3. คำคุณศัพท์ (形容詞・けいようし)
  4. คำช่วย (助詞・じょし)
  5. คำวิเศษณ์ (副詞・ふくし)
  6. คำอุทาน (感動詞・かんどうし)
  7. คำสันธาน (接続詞・せつぞくし)
  8. คำกริยานุเคราะห์ (助動詞・じょどうし)
  9. คำปัจจัย (接尾語・せつびご)
  10. คำอุปสรรค (接頭語・せっとうご) 
รู้แค่คำศัพท์อย่างเดียวไม่พอหรือ?
ทำไมถึงควรรู้ว่าคำๆ นั้นจัดเป็นคำชนิดใด?

คำตอบ คือ เพื่อง่ายต่อการนำคำมาสร้างเป็นประโยคตามหลักไวยากรณ์
โดยสามารถเลือกใช้คำช่วย และหรือนำคำมาเชื่อมกับคำอื่นได้ถูกต้อง
ซึ่งทำให้สามารถเรียนรู้ และเข้าใจไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นได้ไวขึ้น


ในบทต่อไปๆ เราจะมาสอนเกี่ยวกับคำแต่ละชนิดที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น โดยแยกเป็นบทย่อยจากบทใหญ่นี้ ไปพร้อมๆ กับแนะนำคำศัพท์พื้นฐานของคำแต่ละชนิดด้วย

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 1 : รู้จักกับตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่น

ในระบบการเขียนของภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ตัวอักษรร่วมกัน 3 ชุด คือ
  1. ตัวอักษรฮิรางานะ(平仮名・ひらがな) 
  2. ตัวอักษรคาตาคานะ(片仮名・カタカナ)
  3. ตัวอักษรคันจิ(漢字)
ตัวอักษรฮิรางานะ(平仮名・ひらがな
ใช้สำหรับเขียนคำในภาษาญี่ปนที่ไม่สามารถเขียนเป็นตัวคันจิได้ และคำช่วย
มีด้วยกันทั้งหมด 46 ตัว โดยตัวอักษร 1 ตัวจะใช้แทนเสียง 1 พยางค์ ดังตารางต่อไปนี้

あ อะ aい อิ iう อุ uえ เอะ eお โอะ o
か คะ kaき คะ kiく คุ kuけ เคะ keこ โคะ ko
さ สะ saし ชิ shiす สุ suせ เสะ seそ โสะ so
た ทะ taち จิ chiつ ทสึ tsuて เทะ teと โทะ to
な นะ naに นิ niぬ นุ nuね เนะ neの โนะ no
は ฮะ haひ ฮิ hiふ ฟุ fuへ เฮะ heほ โฮะ ho
ま มะ maみ มิ miむ มุ muめ เมะ meも โมะ mo
や ยะ yaゆ ยุ yuよ โยะ yo
ら ระ raり ริ riる รุ ruれ เระ reろ โระ ro
わ วะ waを โอะ wo
ん อึน n

นอกจากตัวอักษรในตารางข้างต้นแล้ว
ยังมีการเติม "เตนเตน" (ขีดสองขีด) กับ "มารุ" (วงกลม) ด้านขวาบนของตัวอักษรในบางวรรค
ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรเสียงขุ่น ดังตารางต่อไปนี้

が กะ gaぎ กิ giぐ กุ guげ เกะ geご โกะ go
ざ ซะ zaじ จิ ziず ซึ zuぜ เซะ zeぞ โซะ zo
だ ดะ daぢ ดิ diづ ดึ duで เดะ deど โดะ do
ば บะ gaび บิ biぶ บุ buべ เบะ beぼ โบะ bo
ぱ ปะ paぴ ปิ piぷ ปุ puぺ เปะ peぽ โปะ po

และนอกจากการเติม "เตนเตน" (ขีดสองขีด) หรือ "มารุ" (วงกลม)
ยังมีการเติม ゃ,ゅ,ょต่อท้ายตัวอักษรบางตัวในแถวเสียง "อิ" ของทัั้งสองตารางก่อนหน้า
ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรเสียงควบ ดังตารางต่อไปนี้

きゃ เคียะ kyaきゅ คิว kyuきょ เคียว kyo
しゃ ฉะ shaしゅ ชุ shuしょ โชะ sho
ちゃ จะ chaちゅ จุ chuちょ โจะ cho
にゃ เนียะ nyaにゅ นิว nyuにょ เนียว nyo
ひゃ เฮียะ hyaひゅ ฮิว chuひょ เฮียว hyo
みゃ เมียะ myaみゅ มิว myuみょ เมียว myo
りゃ เรียะ ryaりゅ ริว ryuりょ เรียว ryo
ぎゃ เกียะ gyaぎゅ กิว gyuぎょ เกียว gyo
じゃ จะ jaじゅ จุ juじょ โจะ jo
ぢゃ เดียะ dyaぢゅ ดิว dyuぢょ เดียว dyo
びゃ เบียะ bya びゅ บิว byuびょ เบียว byo
ぴゃ เปียะ pya びゅ พิว pyu ぴょ เปียว pyo

ถึงตรงนี้
.
.
.
พักหายใจกันก่อน
ถ้าพร้อมแล้ว
ค่อยมาลุยกันต่อ
.
.
.
มา

ตัวอักษรคาตาคานะ(片仮名・カタカナ)
ใช้สำหรับเขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ ที่ไม่ใช่คำจากภาษาจีน
มีด้วยกันทั้งหมด 46 ตัว โดยตัวอักษร 1 ตัวจะใช้แทนเสียง 1 พยางค์ ดังตารางต่อไปนี้

ア อะ aイ อิ iウ อุ uエ เอะ eオ โอะ o
カ คะ kaキ คะ kiク คุ kuケ เคะ keコ โคะ ko
サ สะ saシ ชิ shiス สุ suセ เสะ seソ โสะ so
タ ทะ taチ จิ chiツ ทสึ tsuテ เทะ teト โทะ to
ナ นะ naニ นิ niヌ นุ nuネ เนะ neノ โนะ no
ハ ฮะ haヒ ฮิ hiフ ฟุ fuヘ เฮะ heホ โฮะ ho
マ มะ maミ มิ miム มุ muメ เมะ meモ โมะ mo
ヤ ยะ yaユ ยุ yuヨ โยะ yo
ラ ระ raリ ริ riル รุ ruレ เระ reロ โระ ro
ワ วะ waヲ โอะ wo
ン อึน n

นอกจากตัวอักษรในตารางข้างต้นแล้ว 
ยังมีการเติม "เตนเตน" (ขีดสองขีด) กับ "มารุ" (วงกลม) ด้านขวาบนของตัวอักษรในบางวรรค 
ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรเสียงขุ่น เช่นเดียวกันกับตัวอักษรฮิรางานะ ดังตารางต่อไปนี้

ガ กะ gaギ กิ giグ กุ guゲ เกะ geゴ โกะ go
ザ ซะ zaジ จิ ziズ ซึ zuゼ เซะ zeゾ โซะ zo
ダ ดะ daヂ ดิ diヅ ดึ duデ เดะ deド โดะ do
バ บะ gaビ บิ biブ บุ buベ เบะ beボ โบะ bo
パ ปะ paピ ปิ piプ ปุ puペ เปะ peポ โปะ po

และนอกจากการเติม "เตนเตน" (ขีดสองขีด) หรือ "มารุ" (วงกลม)
ยังมีการเติม ゃ,ゅ,ょต่อท้ายตัวอักษรบางตัวในแถวเสียง "อิ" ของทัั้งสองตารางก่อนหน้า
ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรเสียงควบ เช่นเดียวกันกับตัวอักษรฮิรางานะ ดังตารางต่อไปนี้

キャ เคียะ kyaキュ คิว kyuキョ เคียว kyo
シャ ฉะ shaシュ ชุ shuショ โชะ sho
チャ จะ chaチュ จุ chuチョ โจะ cho
ニャ เนียะ nyaニュ นิว nyuニョ เนียว nyo
ヒャ เฮียะ hyaヒュ ฮิว chuヒョ เฮียว hyo
ミャ เมียะ myaミュ มิว myuミョ เมียว myo
リャ เรียะ ryaリュ ริว ryuリョ เรียว ryo
ぎゃ เกียะ gyaぎゅ กิว gyuぎょ เกียว gyo
じゃ จะ jaじゅ จุ juじょ โจะ jo
ぢゃ เดียะ dyaぢゅ ดิว dyuぢょ เดียว dyo
びゃ เบียะ byaびゅ บิว byuびょ เบียว byo
ぴゃ เปียะ pyaびゅ พิว pyuぴょ เปียว pyo

ตัวอักษรคันจิ (漢字)
เป็นตัวอักษรภาพที่ยืมมาจากจีน โดยตัวอักษร 1 ตัว จะใช้แทนคำ 1 ความหมาย เช่น
  • 人 แทนคำว่า "คน"
  • 犬 แทนคำว่า "สุนัข"
  • 木 แทนคำว่า "ต้นไม้"
  • 水 แทนคำว่า "น้ำ"
  • 月 แทนคำว่า "ดวงจันทร์"
การอ่านตัวอักษรคันจิ
สามารถอ่านได้ทั้งแบบญี่ปุ่น (คุงโยมิ) โดยจะไปพ้องเสียงกับคำดั้งเดิมในภาษาญี่ปุ่น
และแบบจีน (องโยมิ) โดยจะไปพ้องเสียงกับคำในภาษาจีน เช่น
  • 人 อ่านแบบญี่ปุ่นได้ว่า ひと อ่านแบบจีนได้ว่า じん หรือ にん
  • 犬 อ่านแบบญี่ปุ่นได้ว่า いぬ อ่านแบบจีนได้ว่า けん
  • 木 อ่านแบบญี่ปุ่นได้ว่า き     อ่านแบบจีนได้ว่า もく หรือ ぼく
  • 水 อ่านแบบญี่ปุ่นได้ว่า みず อ่านแบบจีนได้ว่า すい
- จบบทที่ 1 -