วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-3 : คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น (1)

คำกริยา (動詞・どうし)
หมายถึง คำที่ทำหน้าที่แสดงการกระทำ หรือสภาพ หรืออาการของประธานในประโยค ซึ่งแบ่งออกเป็น

1. อกรรมกริยา (自動詞・じどうし)
    หมายถึง คำกริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ

2. สกรรมกริยา (他動詞・たどうし)
    หมายถึง คำกริยาที่จำเป็นจะต้องมีกรรมมารองรับ

คำกริยาพื้นฐานที่ควรรู้ไว้
นอน2ねる寝る
ตื่น2おきる起きる
ยืน1たつ立つ
นั่ง1すわる座る
ดู2みる見る
ฟัง1きく聞く
พูด1いう言う
อ่าน1よむ読む
เขียน1かく書く
สอน2おしえる教える
เรียน1ならう習う
เข้าใจ1わかる分かる
รู้1しる知る
ทำ1やる
ทำ1する
จำ2おぼえる覚える
ลืม2わすれる忘れる
รอ1まつ待つ
ดื่ม1のむ飲む
กิน2たべる食べる
เล่น,เที่ยว1あそぶ遊ぶ
เดิน1あるく歩く
วิ่ง1はしる走る
ว่ายน้ำ1およぐ泳ぐ
ไป1いく行く
มา3くる来る
กลับ1かえる帰る
รับ1もらう貰う
ให้2あげる挙げる
ใช้1つかう使う
ถือ1もつ持つ
ซื้อ1かう買う
ขาย1うる売る
จ่าย1はらう払う
ยืม2かりる借りる
มี(สิ่งของ)1ある
คืน1かえす返す
ทำหาย1なくす無くす
พักค้างคืน1とまる泊まる
อยู่อาศัย1すむ住む
เข้า1はいる入る
ออก2でる出る
มี,อยู่(คน,สัตว์)2いる
กลายเป็น1なる
มองเห็น2みえる見える
ได้ยิน2きこえる聞こえる
จด,คัดลอก1かきとる書き取る
ฟังจับใจความ1ききとる聞き取る
ถาม1きく聞く
ตอบ2こたえる答える
บอก2つたえる伝える
คุย1はなす話す
นำ,พา2つれる連れる
รับ(คน)2むかえる迎える
ส่ง(คน)1みおくる見送る
ลง(รถ)2おりる降りる
ขึ้น(รถ),
ลง(เรือ),
ขี่
1のる乗る
ถึง(ที่หมาย)1つく着く
เปลี่ยนสาย,
ต่อรถ
2のりかえる乗り換える
วกกลับ1もどる戻る
มุ่งสู่.
หันเข้าหา
1むかう向かう
หยุด,จอด(รถ)1とまる止まる
ลอด,ผ่าน1とおる通る
ข้าม1わたる渡る
เลี้ยว,
โค้ง,งอ
1まがる曲がる
เรียก1よぶ呼ぶ
หา1さがす探す
มาพบ1あう会う
หลบเลี่ยง2よける避ける
เลี้ยง(สัตว์)1かう飼う
ตกปลา1つる釣る
ปลูก(พืช)2うえる植える
ทำให้คืบหน้า2すすめる進める
มาสาย1おくれる遅れる
หายลับ
(ไฟ)ดับไป
2きえる消える
ขอร้อง,ไหว้วาน1たのむ頼む
พึ่งพา1たよる頼る
ลงมา(ที่ต่ำ)1さがる下がる
ขึ้นไป(ที่สูง)1あがる上がる
ยกขึ้น,
ทำให้สูงขึ้น
2あげる上げる
เอาลง,
ทำให้ต่ำลง
2さげる下げる
วาง1おく置く
ตัดสินใจ2きめる決める
ต้องการ1いる要る
เลือก,1えらぶ選ぶ
หยิบจับ,รับมา,
เอา,ครอบครอง
1とる取る
เล่นดนตรี1ひく弾く
ร้องเพลง1うたう歌う>/td>
เต้นรำ1おどる踊る
พักผ่อน1やすむ休む
ทำงาน1はたらく働く
พยายาม1がんばる頑張る
ตั้งใจ1こことざす志す
ใช้ความคิด,
ทบทวน,ตัดสินใจ
1かんがえる考える
พิจารณา1みなす見なす
รู้สึก2かんじる感じる
นึก,คิด1おもう思う
ตาย1しぬ死ぬ

จากในตารางข้างต้น จะเห็นว่ามีตัวเลข 1,2,3 กำกับอยู่ด้วย ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ใช้จำแนกคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโดยแบ่งตามลักษณะการผันออกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มหลักๆ ได้ดังนี้

1. คำกริยากลุ่มที่ 1
คือ คำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียงสระอุของทุกวรรค
ยกเว้น คำที่ลงท้ายด้วยเสียงสระอิ หรือเอะ + る
เช่น 立つ,座る,聞く,言う,読む,書く
ซึ่งสามารถผันตัวอักษรที่ลงท้ายได้ทุกเสียง
ทั้งสระอะ,อิ,อุ,เอะ,โอะ

2. คำกริยากลุ่มที่ 2
คือ คำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียงสระอิ หรือเอะ + る
ยกเว้น บางคำที่จัดอยู่ในคำกริยากลุ่มที่ 1
เช่น 寝る,起きる,見る,教える,覚える,忘れる
ซึ่งสามารถผันตัวอักษรที่ลงท้ายได้แค่เสียงเดียว

3. คำกริยากลุ่มที่ 3
คือ คำกริยากลุ่มพิเศษ ได้แก่ 来る กับ する
รวมไปถึงคำที่ลงท้ายด้วย 来る และ する ด้วย
ซึ่งมีวิธีการผันโดยการเปลี่ยนรูป

ในบทความต่อไปเราจะมาสอนเกี่ยวกับเทคนิควิธีการจำคู่อกรรมกริยากับสกรรมกริยา และการผันคำกริยาให้อยู่ในรูปต่างๆ อย่างละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น