วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 2-3 : คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น (5)

7. การผันคำกริยาเป็นรูปสามารถ

   คำกริยากลุ่มที่ 1
   ผันโดยการเปลี่ยนเสียงสระอุที่อยู่ตัวท้ายสุด
   ให้เป็นเสียงสระเอะ แล้วเติม る ต่อท้าย

ตัวอย่าง
พูดえるพูดได้
รอてるรอได้
ขายれるขายได้
เขียนけるเขียนได้
ว่ายน้ำげるว่ายน้ำได้
ตายねるตายได้
เที่ยวเล่นべるไปเที่ยวเล่นได้
อ่านめるอ่านได้
คุยせるคุยด้วยได้

หมายเหตุ คำกริยา 聞く ที่แปลว่า "ฟัง" รูปสามารถคือ 聞こえる แปลว่า "ได้ยิน"

   คำกริยากลุ่มที่ 2
   ผันโดยการตัด る ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก
   แล้วเติม られる ต่อท้าย

ตัวอย่าง
起きตื่น起きられるตื่นได้
นอนられるนอนได้
感じรู้สึก感じられるรู้สึกได้
食べกิน食べられるกินได้
覚えจำ覚えられるจำได้

หมายเหตุ คำกริยา 見る ที่แปลว่า "ดู" รูปสามารถคือ 見える แปลว่า "มองเห็น"

   คำกริยากลุ่มที่ 3
   ผันโดยการเปลี่ยน 来る (くる)
   เป็น 来られる (こられる)
   และเปลี่ยน する เป็น 出来る (できる)

ตัวอย่าง
くるมาこられるมาได้
するทำできるทำได้

คำกริยารูปสุภาพนั้นสามารถผันเป็นรูปปฏิเสธต่อได้โดยการใช้หลักการผันเดียวกันกับการผันคำกริยากลุ่มที่ 2 คือ ตัด る ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก แล้วเติม ない ต่อท้าย

ตัวอย่าง
書けเขียนได้書けないเขียนไม่ได้
読めอ่านได้読めないอ่านไม่ได้
言えพูดได้言えないพูดไม่ได้
食べられกินได้食べられないกินไม่ได้
寝られนอนได้寝られないนอนไม่ได้
こられมาได้こられないมาไม่ได้
できทำได้できないทำไม่ได้

นอกจากนี้ คำกริยารูปสามารถยังสามารถผันต่อเป็นรูปสุภาพรวมไปถึงรูปปฏิเสธสุภาพได้โดยการใช้หลักการผันเดียวกันกับคำกริยากลุ่มที่ 2 คือ ตัด る ที่อยู่ตัวท้ายสุดออก แล้วเติม ます หรือ ません ในกรณีที่เป็นการปฏิเสธต่อท้าย

ตัวอย่าง
เขียนได้書け書けます
อ่านได้読め読めます
พูดได้言え言えます
กินได้食べられ食べられます
นอนได้寝られ寝られます
มาได้こられこられます
ทำได้できできます

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น